สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความนี้อยากบอกความรู้สึกดีๆ เล่าสู่กันฟัง ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะครับ ผมทำงานด้านพัฒนาอาชีพคนพิการมาหลายปี น้อยครั้งที่จะได้พบกับคนพิการ ที่เรารู้สึกว่า "ใช่เลย" พี่จำนงค์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ผมมีความรู้สึกนั้น "ใช่เลย" สำหรับผมนั้น คือ คนพิการที่พิการแต่ร่างกาย หัวใจ สีหน้า ดววงตา ความรู้สึกนั้น คือ คนที่มีความพิการมาเป็นอุปสรรคเท่านั้น ความพิการเป็นเหมือนเพียงแค่โจทย์ของชีวิต ที่เมื่อสามารถแก้ไขโจทย์ความพิการได้เลย ก็ฉลุยเลย
พี่จำนงค์ บอกกับเราว่า ทำนาเป็นงานอดิเรก อาชีพหลักคือเลี้ยงเป็ด มุมมนี้สะท้อนเรื่องผลผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ว่าทำไมพี่จำนงค์ ถึงทำนาเป็นงานอดิเรก แต่ผมอยากบอกเพื่อนๆ ก่อนว่า ที่ว่าทำเป็นงานอดิเรกนั้น พี่จำนงค์ทำถึง 109 ไร่นะครับ ก่อนมาเจอพี่จำนงค์ผมเคยคิดบนกระดาษว่า หากนำเอาเกษตรอินทรีย์มาใช้กับการปลูกข้าวแล้ว หากคิดที่เหลือกำไรหักจากค่าใช้จ่าย ซึ่งมองที่ไม่มีการจำนำ หรือประกันราคาข้าวนะครับ จะต้องเหลือเงินไร่ละ 6,000 บาท ขึ้นไป หากทำ 100 ไร่ ก็ต้องเหลือเงิน 600,000 บาท ผมคิดว่า
ถ้าเป็นยอดเงินนี้ พี่จำนงค์ต้องไม่คิดว่าเป็นงานอดิเรกแน่นอน แต่พี่จำนงค์ก็ต้องคิดอย่างนี้นะครับ เนื่องจากพี่จำนงค์ทำผลผลิตได้เพียง 50 ถังต่อ 1 ไร่เท่านั้นเอง ผมคิดว่านี่คือเหตุผลสำคัญของความคิดที่ว่า "ทำนาข้าวเป็นงานอดิเรก" เนื่องจากที่ดินดังกล่าวทั้ง 109 ไร่นั้นอยู่ใกล้ฟาร์มเป็ดไร่ทุ่งของพี่เขา ดังนั้นสำหรับการเข้าร่วมโครงการถุงยังชีพถาวรฯ 1,700 ไร่ของพี่จำนงค์ ที่เราให้พิเศษ 50 ไร่ด้วยนั้น เราตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรทั้งหมดมีผลผลิตขั้นต่ำไร่ละ 100 ถังขึ้นไป
พี่จำนงค์ตัดสินใจเอาที่นาที่เช่ามาด้วยการแลกกับข้าวครั้งละ ไร่ละ 20 ถัง จำนวน 53 ไร่มาทดลองวิถีเกษตรอินทรีย์กับโครงการถุงยังชีพฯ ของพวกเราเหล่าอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่วนอีก 56 ไร่นั้น จะใช้วิธีการทางเคมีปกติ ซึ่งก็แน่นอนว่าจะได้ไร่ละ 50 ถังเช่นเดิม เพราะพี่จำนงค์ทำนาข้าวมาแล้วถึง 25 ปี ส่วนตัวหากเก็บเกี่ยวแล้ว อยากมาฟังจากพี่จำนงค์อีกครั้งว่า ยังเป็นงานอดิเรกอยู่อีกไหม พอจะเขยิบฐานะได้บ้างรึเปล่า
ผมอยากให้เรื่องราวของพี่จำนงค์ เป็นตัวอย่างของคนที่เดิมเคยเป็นคนปกติมาก่อน เมื่อมาพิการแล้ว ใช้เวลาปรับตัว ปรับใจ ประมาณ 1 ปี จึงเริ่มกลับมาทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว ภรรยาน่ารักมากครับ ผมไม่ได้หมายถึงน่าตานะครับ ผมหมายถึงในหัวใจนะครับ ที่ยังคงดูแลซึ่งกันและกันอยู่ ผมลืมเล่าถึงความพิการของพี่เขาเลยครับ พี่จำนงค์ขาขาดทั้ง 2 ข้าง ข้างขวาขาดเหนือหัวเข่าแต่เนื้อนั้นดูรู้เลยว่าหายไปเยอะมากครับ ส่วนข้างซ้ายขาดถึงต้นขาติดกับช่วงสะโพกเลยครับ เราก็เลยแลกเปลี่ยนเล่าความพิการให้ฟังกันแป๊บเดียวไม่นานครับ แต่เราสนใจว่าพี่เขาทำนาอย่างไรมากกว่า อาจจะบวกกับอายุที่มากขึ้นด้วย ที่พี่เขาไม่ลงไปลุยให้เลอะเทอะแล้ว พวกเราสรุปกันไปเรียบร้อยแล้วว่า พี่จำนงค์เป็นักการจัดการ คือ บริหารการทำฟาร์มเป็ด และนาข้าว ไปแล้ว ใช้การจ้างคน และเช่าเครื่องจักรเป็นหลักครับ ซึ่งผมคิดว่าก่อนจะบริหารได้ ก็ต้องผ่านประสบการณ์จริงมาก่อน
เราคุยกันอยู่นานพักใหญ่ วันนี้ผม พี่หนุ่ม พี่ดวงพร เราไปกันมาหลายที่ ตาคลี-นครสวรรค์ วัดเขาเต่าดำ-ชัยนาท ศูนย์พันธุ์ข้าวดักคะนนท์-ชัยนาท จึงมาเยี่ยมพี่จำนงค์จนเย็น เรากำลังจะไป อ.สรรพยาอีกเพื่อไปเยี่ยมเกษตรกรอีก 2 คนครับ ก่อนจะมืดพวกเราเลยลาพี่จำนงค์ แต่เรื่องพี่จำนงคยังไม่จบ พวกเรา 3 คน พูดคุยถึงเรื่องพี่จำนงค์ ต่อกันในรถว่า พวกเรามีความสุขที่มาเยี่ยมพี่เขา พวกเราอยากเห็นคนพิการที่เป็นแบบนี้ คือ ความพิการเป็นเพียงข้อจำกัด ที่ต้องผ่านไปให้ได้ เรื่องอื่นก็ดำรงชีวิตแบบคนอื่นทั่วไป
พอมาถึงที่พักของพี่จำนงค์เพื่อเอาสารอาหารพืชอินทรีย์ ให้จำนวน 5 ชุด ซึ่งแต่ละชุดให้กับนาข้าว 10 ไร่ เป็นจำนวน 10 ขวดนั้น พี่จำนงค์ก็ถามถึงค่าใช้จ่าย ที่ท้ายที่สุดแล้ว พี่เขาก็เข้าใจทั้งความคุ้มค่าที่ใช้เกษตรอินทรีย์ และการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ที่จะเป็นกำลังสำคัญของ ต.ธรรมามูล ต่อไป
ก่อนจะจบบทความ อยากสื่อความรู้สึกสำคัญอรกเรื่องให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจร่วมกัน พี่จำนงค์เล่าให้พวกเราฟังว่า ในช่วงต้นของชีวิตหลังมีความพิการเป็นเพื่อนตายแล้วนั้น ใครไปไหน พี่เขาไปด้วย ใครทำอะไร พี่เขาทำด้วย ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ คือพี่จำนงค์ไม่หดหู่ ไม่ปิดกันตัวเองทั้งสภาพจิตใจ และการหาประสบการณ์ หากคนพิการหกตัวอยู่กับบ้าน เก็บตัว ปิดใจ กับอีกคนพยายามออกนอกบ้าน เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทุกอย่างที่เหลืออยู่ ย่อมเป็นเหมือนพี่จำนงค์ ที่จะยอมรับตัวเอง เข้าใจความพิการ และใช้ร่างกายที่เหลืออยู่กับปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้า อย่างมีค่า มีความหมาย
ผมอยากฝากข้อคิดนี้ไว้ให้กับเพื่อนๆ ทั้งพิการ และไม่พิการ หรือคนที่มีข้อจำกัดมากหรือน้อย ได้มีอิสระทางความคิด ผ่านอุปสรรคต่างๆ ตามข้อกำหนดของชีวิตแต่ละคนนะครับ อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับใคร เรื่องราวของพี่จำนงค์ สามารถนำมาคิดถึงได้ตลอดเวลานะครับ หากเพื่อนๆ ต้องการให้เวลากับตัวเอง เพื่อจะผ่านอุปสรรคสำคัญๆ ที่คิดว่ายาก หรือหาทางออกลำบาก ครับ
ก่อนจะจบบทความ อยากสื่อความรู้สึกสำคัญอรกเรื่องให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจร่วมกัน พี่จำนงค์เล่าให้พวกเราฟังว่า ในช่วงต้นของชีวิตหลังมีความพิการเป็นเพื่อนตายแล้วนั้น ใครไปไหน พี่เขาไปด้วย ใครทำอะไร พี่เขาทำด้วย ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ คือพี่จำนงค์ไม่หดหู่ ไม่ปิดกันตัวเองทั้งสภาพจิตใจ และการหาประสบการณ์ หากคนพิการหกตัวอยู่กับบ้าน เก็บตัว ปิดใจ กับอีกคนพยายามออกนอกบ้าน เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทุกอย่างที่เหลืออยู่ ย่อมเป็นเหมือนพี่จำนงค์ ที่จะยอมรับตัวเอง เข้าใจความพิการ และใช้ร่างกายที่เหลืออยู่กับปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้า อย่างมีค่า มีความหมาย
ผมอยากฝากข้อคิดนี้ไว้ให้กับเพื่อนๆ ทั้งพิการ และไม่พิการ หรือคนที่มีข้อจำกัดมากหรือน้อย ได้มีอิสระทางความคิด ผ่านอุปสรรคต่างๆ ตามข้อกำหนดของชีวิตแต่ละคนนะครับ อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับใคร เรื่องราวของพี่จำนงค์ สามารถนำมาคิดถึงได้ตลอดเวลานะครับ หากเพื่อนๆ ต้องการให้เวลากับตัวเอง เพื่อจะผ่านอุปสรรคสำคัญๆ ที่คิดว่ายาก หรือหาทางออกลำบาก ครับ