90 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 39 @ 1 พฤศจิกายน 2554 ชื่อตอน "สรุปจุดรั่วซึม หรือรั่วไหล ของน้ำท่วมครั้งนี้ทั้ง 10 จุด"

สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความนี้ผมอยากสรุปให้ทุกท่านได้ทราบว่า ในบริเวณบ้านมีน้ำรั่วซึม จนถึงระดับรั่วไหล ทั้งหมดถึง 10 จุด เราพยายามแก้ไขทุกจุด ต้องยอมรับว่า ไม่มีทางที่จะป้องกันน้ำให้ไม่รั่วซึมเข้ามา เนื่องจากที่ระดับความสูง 1.50 เมตรนั้นมีแรงดันน้ำมาก การปล่อยให้น้ำที่ั่วซึมเข้ามาจนมีระดับความสูง 20-50 เซนติเมตร ภายในบริเวณบ้านกลับเป็นวิธีการอยู่ร่วมกับน้ำท่วมอย่างลงตัวมากกว่า การค้นหาสาเหตุของน้ำรั่วซึม จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องรู้ และป้องกันเท่าที่จะทำได้ ตามสถานการณ์

งั้นเรามาพบกับจุดรั่วซึม และบางจุดมากถึงกับไหลเข้ามาเลยก็ได้ ทั้ง 10 จุด โดยผมจะอธิบายการป้องกันไว้ให้ด้วย พร้อมกับเชื่อมลิงก์ในบทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องไว้ให้ด้วย ดังนั้ครับ
  1. แนวกำแพงด้านหลังทิศเหนือ ที่ติดกับเพื่อนบ้านที่ได้อพยพหนีไปหมดแล้วทั้ง 4 หลัง ทั้งหมด 3 จุดใหญ่ ซึ่งเป็นแนวกแพงที่ไม่มีบ้านของเราขวางอยู่ คือ มองเห็นตัวกำแพงเลย แต่ละจุดมีจุดย่อยๆ อีกเป็นความยาวตั้งแต่ 1 คืบ ถึง 1 เมตร แก้ไขด้วยการโบกปูนทับ ซึ่งบางจุดก็ไม่มีผลอะไรเพราะน้ำซึมจนปูนไม่แห้งครับ
  2. แนวกำแพงทิศเหนือที่บ้านของเรา ซึ่งมีการปลูกบ้านชิดกำแพง ห่างออกมาประมาณ 1 คืบ และโบกปูนทับด้านข้าง แต่ข้างในกลวง น้ำจะซึมจากกำแพงมารวมตัวกันในช่องว่างระหว่างตัวบ้านของเรากับกำแพง เนื่องจากฝั่งตรงข้ามน้ำท่วมสูงหมดแล้ว แนวเดียวกับข้อ 1. แก้ไขด้วยการ เจาระที่ผนังเพื่อให้น้ำระบายออกมาไม่สะสมจนไปรั่วซึมออกในตัวกำแพงบ้าน น้ำจะไหลไปรวมกับพื้นถนนภายในร้วบ้าน เพื่อรอดูดออกด้วยปั๊มไดโว่
  3. แนวกำแพงด้านข้างทิศตะวันตก ที่ติดกับเพื่อนบ้าน มีรอยร้าวยาวมาก 2 เมตร น้ำไหลซึมชัดเจน ยาแนวด้วยปูน แต่ก็เอาไ่อยู่เช่นกันต้องปล่อย แต่แนวกำแพงนี้ยังไม่หนักใจสักเท่าไหร่ เพราะว่ามีไม้ยูคาลิบตัสดันขวางเอาไว้ ต่างจาก ข้อ 1-2 ที่ไม่ได้ยันกำแพงอะไรเลย แต่อาจโชคดีที่มีความต่างระดับที่สูงกว่ากำแพงด้านหน้าประมาณ 40 เซนติเมตร ทำให้มีความต่างในการรับแรงดันน้ำสูงสุดประมาณ 1.40 เมตรเท่านั้น จึงยังคงมีความแข็งแรงพอสมควร
  4. ช่องทางท่อระบายน้ำที่เราเอากระสอบทรายฝังไว้ ซึ่งทำให้มีน้ำรั่วซึมด้วยแรงดันเข้ามาพอสมควร ทำให้เป็นภาระของปั๊มไดโว่ 1 ตัว ที่ประจำตำแหน่งไว้เลยครับ
  5. ที่หัวมุมด้านข้างของประตูใหญ่ ตำแหน่งต้นขนุน ที่มีน้ำรั่วซึมมาจากพื้นดินในปริมาณมาก เข้าใจว่าตรงจุดนี้อาจจะมีแนวรากของต้นไม้ไม่มาก น้ำจึงผึดขึ้นมาจากใต้ดิน แต่ไม่ถึงกับพุ่งขึ้นมาเลย ไม่สามารถป้องกันได้เลย ต้องปล่อยน้ำไหลอกมา
  6. แนวกระสอบทรายประตูเล็กที่ 3 ด้านทิศตะวันออกของรั้วกำแพงบ้าน ที่เดิมไม่ได้วางกระสอบทราย จึงทำให้น้ำทะลักเข้ามา จึงมีการเรียงกระสอบทรายแบบไม่เป็นระเบียบ และเรียงทับถมกันมาจนถึงระดับความสูงเท่ากำแพง ทำให้เป็นจุดอ่อน ที่เป็นจุดรั่วมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะน้ำไหลออกมาเป็นน้ำตกเลยครับ โดยพยามยามแก้ไขแล้ว แต่แก้ได้ไม่มากเท่าไหร่ จุดนี้ก็ต้องแค่ระวังไม่ให้มากไกว่านี้
  7. แนวกำแพงกระสอบทรายบริเวณประตูใหญ่ ที่มีแรงดันน้ำ ดันน้ำซึมผ่านกระสอบทรายเข้ามา เพราะกระสอบทรายเริ่มเปื่อย และน้ำแทรกตัวเข้ามาได้ จุดนี้เีราไม่ได้คลุมกระสอบทรายด้วยพลาสติกจากฐานกระสอบทรายตั้งแต่ต้นครับ จึงต้องปล่อยน้ำซึมเข้ามาเช่นกัน
  8. แนวกระสอบทรายประตูเล็กที่ 2 ที่มีการจัดวางได้เป็นระเบียบ แต่เนื่องจากกระสอบทรายมีการเสื่อม จึงต้องมีน้ำรั่วซึมออกมาเช่นกัน ถึงแม้ด้านหน้าจะมีการคลุมด้วยแผ่นพลาสติกแล้วก็ตาม
  9. พื้นคอนกรีตที่เทไว้หนา 20 เซนติเมตร มีการแทรกตัวของน้ำตลอดพื้นคอนกรีตที่ยาว 70 เมตร กว้าง 3 เมตร ไม่สามารถป้องกันได้เลย ต้องปล่อยน้ำซึมขึ้นมา
  10. แนวพื้นดินที่เคยปลูกหญ้าไว้เกือบ 50 เมตร ที่มีน้ำแทรกตัวขึ้นมา ไม่ถึงกับพุ่งขึ้นมาเลย แต่ก็ไหลขึ้นมาค่อนข้างมากครับ
ซึ่งน้ำทั้งหมดที่ไหลซึม รั่วจากพื้นดิน จากแรงดันน้ำตามจุดต่างๆ ก็จะมารวมกันที่พื้นถนนหน้า้านทั้ง 4 หลัง แล้วใช้ปั๊มไดโว่ จำนวน 3 ตัว บริหารจัดการตามความสูงของระดับน้ำที่เราควบคุมให้ไม่เกิน 20-50 เซนติเมตร โดยจะปรับให้เหมาะสมกับระดับความสูงของน้ำนอกกำแพง // ภาพข้างล่าง ผมรวบรวมจากบทความเก่าๆ มาให้ดูกันนะครับ ซึ่งอาจจะไม่ครบทั้ง 10 จุด ครับ









สำหรับบทความนี้ก็เนื้อหามากสักหน่อย เพราะเป็นตัวสรุปของจุดรั่วซึม นะครับ ในตอนหน้าก็เป็นการนำภาพที่น้องสาวกับสามี ไปสำรวจรอบหมู่บ้าน แต่เป็นแนวสุดเขตด้านต่างๆ ของหมู่บ้านทางทิศเหนือ และทิศตะวันออก มาให้ดูกันนะครับ