สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความตอนนี้ ดูเผินๆ เหมือนเป็นแค่การสำรวจภายนอกหมู่บ้านธรรมดาๆ ทำให้เห็นสภาพน้ำท่วมนอกหมู่บ้าน ที่บนถนนจะมีระดับความสูงกว่าในหมู่บ้านต่างๆ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าคิดให้ลึกลงไปอีกสักหน่อย จะพบว่า ในภาวะน้ำท่วมนั้น ชุมชนจะเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำท่วม มีการปรับตัว เริ่มมีร้านค้าขายขึ้น ผมนึกไปถึงว่า ถ้าผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีการศึกษา เรียนรู้ ปัจจัยและผลของน้ำท่วม และร่วมวางแผนระดับชุมชน เช่น ถ้าในหมู่บ้านที่เราอยู่ มีการวางแผนที่ดี หมู่บ้านจะไม่จมน้ำแบบนี้ ทุกอย่างจะเกื้อหนุนกัน เราจะอยู่กับภาวะน้ำท่วมได้อย่างมีความสุข และปลอดภัย
สำหรับเรื่องการอยู่ร่วมกับมหาอุทกภัยครั้งนี้ หรือการอพยพนั้น คงจะวิพากย์กันยากว่าอย่างไรจึงจะดี จึงจะเหมาะ เพราะว่าถ้าเลือกที่จะอพยพมันก็ชัวร์ และปลอดภัยดี ส่วนถ้าเลือกที่จะอยู่กับน้ำท่วม ถ้าเป็นกรณีบ้านหลังเดี่ยวๆ คงอยู่อย่างยากลำบากคล้ายครอบครัวผม แต่ถ้าอยู่กับน้ำท่วมในระดับชุมชน ผมคิดว่าจะดีมากๆ แน่นอน แต่สังคมเมืองคงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สุดแล้วความคิดนี้ผมขอลุ้นให้สังคมไทย เลือกการอยูู่ร่วมทั้งชุมชนในโกาสหน้าที่อาจจะมีภัยพิบัติในลักษณะนี้อีก
สามี (น้องเขย) ลาก
ภรรยา (น้องสาวผม) นั่ง
ยกล้อ คันที่ 1 ครับ
คันนี้ไม่ยกล้อครับ
คันนี้ก็ไม่ยกล้อครับ
ยกล้อคันที่ 2 อีกคันครับ
ร้านอาหารในภาวะน้ำท่วม
เจ้าตูบได้ที่นอนใหม่
บรรยากาศโดยรอบ ใกล้ๆ หมู่บ้านครับ
โรงงานผลิตน้ำดื่มก็ปิดตัวครับ
สำหรับตอนหน้า พบกับเรื่องตื่นเต้น ที่ทำให้คุณแม่ผม ที่กลัวการนั่งเรือมากๆ ครับ จำเป็นต้องออกนอกบ้านเป็นครั้งแรก หลังน้ำท่วมสูงเกิน 1 เมตรครับ จะเรื่องอะไร ตามอ่านกันนะครับ
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ