199: "เส้นทางคู่ขนานที่มาบรรจบกัน" ตอนที่ 48: สตรีสากลสำหรับข้าพเจ้า @ 59-03-08

สวัสดีครับทุกท่าน วันที่บันทึกนี้เป็นวันที่ 8 มีนาคม 2559 ซึ่งทุกปี ณ วันที่ 8 มีนาคม จะเป็นวันสตรีสากล กำเนิดโดยสตรีนักการเมืองชาวเยอรมัน "คลารา เซทคิน"  ได้นัดสตรีทั่วโลกหยุดงาน ให้เพิ่มค่าแรง และทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นการเรียกร้องสิทธิสตรีที่ถูกใช้งานเยียงทาส จึงเป็นปรากฏการณ์ต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นจุดเริ่มต้น และได้รับการยอมรับทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ.2450 กว่า 109 ปีมาแล้ว สำหรับในไทยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการมอบเกียรติบัตร "สตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน" ให้กลุ่มสตรีและสตรี ที่มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย   ปกป้องสิทธิชุมชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  และปกป้องสิทธิของสตรี  เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจในการขับเคลื่อนสังคม

ซึ่งในปี 2559 นี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีการมอบ 4 รางวัลคื
  1. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด กลุ่มสตรีปกป้องสิทธิชุมชนจากการทำเหมือง จ.เลย  
  2. กลุ่มสตรีผู้หญิงสู้ชีวิต ต่อต้านการค้ามนุษย์   
  3. คุณอัจฉรา อัชฌายาชาติ จากบางกอกโพสต์ แม่เลี้ยงเดี่ยวผู้นำเสนอข่าวด้านสิทธิมนุษยชนและ  
  4. คุณพิมพ์นภา พฤกษาพรรณ ภรรยาคุณบิลลี่
ภาพของนางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล
ถ่ายเมื่อ 11 ตุลาคม 2558 
กิจกรรม "ด้วยรักและห่วงใย ปันน้ำใจสู่พิจิตร" ครั้งที่ 1

สำหรับผมแล้ว หากผมสามารถที่จะเป็นผู้มอบรางวัลได้ ส่วนตัวที่ผมรู้จักดี ซึ่งคำว่า "รู้จักดี" นั้น หากเป็นองค์กรที่จะมอบให้ คงต้องมีกระบวนการในการพิจารณาอย่างเข้มข้น มีข้อเท็จจริงในบุคคล คนนั้น ดังนั้นสำหรับผมแล้ว ผมรู้จักดี 4 คน เริ่มตั้งแต่ดีมาก มี 2 คน (เรียงตามอายุหรือจำนวนปีของการต่อสู้ คือ 
  1. คุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ซึ่งเป็นผู้หญิงแกร่งที่ต่อสู้เรื้่อง ความเสียหายจากทางการแพทย์ ได้รับรางวัลมากมายจากการต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
  2. คุณชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล ภรรยาของผมเอง ในความรู้สึกของผมที่อยู่ร่วมด้วยกันทุกวัน เธอเป็นหญิงชาวบ้านที่ตัดสินใจลุกขึ้นต่อสู้ปกป้องพื้นที่ตำบลที่ครอบครัวเธออยู่ กับถสานประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ สู้แบบอหิงสา และขับเคลื่อนด้วยการใช้สิทธิอันชอบธรรมของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ใช้กระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการ ทั้งเป็นโจทก์ฟ้องราชการ และผู้ประกอบการ ทั้งคดีอาญาและคดีศาลปกครองในเวลาเดียวกันก็เป็นผู้ต้องหาถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วย

คุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา

นางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล

อีก 2 ท่านที่ผมรู้จักดี โดยดูจากการต่อสู้ ที่ทุ่มเท ตั้งใจ สัมผัสได้จากผลงานการขับเคลื่อนต่อสู้การเปิดเหมืองทองคำในจังหวัดเป้าหมายใหม่ 8 จังหวัด คือ
     3. คุณวันเพ็ญ พรมรังสรรค์ ที่ต่อสู้กับนายทุนและหน่วยงานรัฐท้องถิ่น จากการถูกรุกรานพื้นที่ดินทำกินในจังหวัดสระบุรี ร่วมกับเพื่อนๆ ที่ร่วมอุดมการณ์อีกหลายจังหวัดที่เป็นพื้นที่รอยต่อ เช่นน ลพบุรี นครราชสีมา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว กลายเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อพื้นที่ดินทำกินของทุกคนที่กลายเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีการสำรวจทำเหมืองแร่
     4. คุณอารมณ์ คำจริง อยู่จังหวัดพิษณุโลก ที่ต่อสู้ปกป้องที่ดินทำกิน เช่นเดียวกัน กับพื้นที่รอยต่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร สถานีตำรวจอยู่หน้าบ้าน ดังนั้น จึงลงบันทุกประจำวัน แทนการเขียนไดอารี่


คุณวันเพ็ญ พรมรังสรรค์


คุณอารมณ์ คำจริง

สำหรับผมแล้ว ทั้ง 4 ท่านนี้ เป็น "สตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน" อย่างแท้จริง หลายวันที่ผ่านผมนั่งอ่าน เรียบเรียงข้อมูลของภรรยา จนได้ประวัติ (Resume) ของเธอ ยิ่งทำ ยิ่งรู้สึกถึงความยากลำบาก ความพยายามในการต่อสู้ของผู้หญิงคนหนึ่ง พร้อมๆ กับการอดทนกับแรงเสียดทานรอบด้าน ในทรรศนะของผมนั้น หน่วยงานรัฐอนุมัติการทำเหมืองง่ายเพียงปากกาลงนาม แต่ประชาชนที่ได่รับผลกระทบจะมีสักกี่คนที่จะใช้ความเพียร ร้องเรียนไปทุกหน่วยงาน อีกทั้งยังต้องขับเคลื่อนด้วยเงินส่วนตัวในการต่อสู้ในคดีต่างๆ

ผมขอคารวะในความเป็น "สตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน" ของทุกท่านอย่างแท้จริงครับ