สวัสดีครับเพื่อนๆ ระหว่างที่น้ำกำลังขึ้นสูงแบบไม่หวือหวาสักเท่าไหร่ในบางบัวทอง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมมีเพื่อนๆ ผู้ใหญ่ คนรู้จัก หลายท่านโทรมาถามสถานการณ์ทางบ้านผมว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็ตอบทุกคนว่ายังเอาอยู่ ยังป้องกันได้ จนวันนี้มีน้องที่รู้จักกัน ซึ่งมีความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา โทรมาสอบถามว่าเป็นอย่างไร อ่านบล็อกแล้วเตือนว่า กำแพงที่เอาไม้ค้ำยันไม่น่าจะรอด ซึ่งผมก็ยอมรับว่า ไม่น่าจะป้องกันได้ หลังวางสายทำให้ผมพยายามคิดว่าควรทำอย่างไร ในที่สุดก็ป๊งไอเดียเรื่องการรักษาระดับแรงดัน
โดยเราจะรักษาระดับแรงดันน้ำ ด้วยการปล่อยน้ำเข้าบริเวณบ้านช่วงถนนหน้าบ้าน ที่ระดับความสูงรวมเมื่อเทียบกับข้างนอก 30-40 เซนติเมตร หากข้างนอกกำแพงมีความสูงมากขึ้น เพื่อให้ข้างนอกไม่ต่างจากข้างในมาก อีกอย่างเพื่อให้ผืนน้ำในบ้านรักษาความเสียหายของพื้นคอนกรีตที่มีน้ำผุดขึ้นมา รวมท้งน้ำที่ขึ้นมาจากผืนดิน
อากู๋คาดเดาว่า เนื่องจากเรามีการปลูกต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นแก้วป่า เป็นระยะๆ ตามแนวกำแพง จึงอาจจะเป็นไปได้ว่ามีรากไม้ของต้นไม้เป็นตัวพยุงดินไว้ทำให้สามารถต้านแรงดันน้ำมาจากใต้ดิน อย่างไรก็ตามตอนนี้เราจะดำเนินการตามแผนการปล่อยให้น้ำซึมเข้ามาในระดับที่เรากำหนด ผมนำภาพที่อากู๋อีกท่านหนึ่งของผม จะทำหน้าที่เช็คระดับความสูงของน้ำทุกวัน เพื่อมาประเมินสถานกาณ์ร่วมกัน
ผมเห็นแพลอยน้ำีไร ก็ชอบใจทุกที รู้สึกได้เลยว่ามันมีประโยชน์มากๆ ครับ
ทำให้ขึ้น-ลงเรือง่ายครับ
เช็คระดับความสูงของน้ำครับ
อุปกรณ์เช็คระดับทำง่ายๆ จากท่อพีวีซี ที่มีครับ
สำหรับภาพที่ระดับน้ำสูงขึ้นนั้น ผมจะนำมาฝากในตอนต่อๆ ไป ที่เราจะจัดการกับระบบระบายน้ำของห้องน้ำพร้อมกันละกันนะครับ ตอนต่อไปผมจะนำภาพการอพยพ (ให้ดูเข้ากับบรรยากาศน้ำท่วมครับ) ของน้องสาวที่ท้องแก่จะคลอดสิ้นเดือนนี้ครับ กับการตอบคำถามที่ผมทำไมต้องเป็นผู้ประสบภัย มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ